สภาหอการค้านานาชาติ (International chamber Commerce-ICC) เป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงทั่วโลก ได้จัดให้มีกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศขึ้นมา คือ Incoterm 2010 เพื่อใช้สำหรับตีความเงื่อนไขทางการค้า การขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอนของการตีความเงื่อนไขดังกล่าวที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ หรืออย่างน้อยที่สุด เพื่อลดการความผิดพลาดของการตีความที่แตกต่างกันออกไป รวมทั้งเพื่อได้ทราบหน้าที่ ซึ่งแต่ละฝ่ายต้องปฏิบัติให้แก่กัน
 
 
  วิธีใช้กฎ Incoterms 2010
 
การนำกฎ Incoterm 2010 ไปใช้ร่วมกับสัญญาซื้อขายของ ควรจะทำให้เกิดความชัดเจนในสัญญา ด้วยการใช้ถ้อยคำ “กฎ Incoterms" ที่เลือกใช้ตามด้วยสถานที่ที่ระบุตามด้วย Incoterms 2010
 
การเลือกกฎ Incoterms ต้องเหมาะสมกับสินค้า วิธีการขนส่งสินค้า และต้องเหมาะสมกับความประสงค์ของคู่สัญญาว่าจะกำหนดภาระหน้าที่เพิ่มเติมให้แก่ผู้ขายหรือผู้ซื้อ เช่น ภาระหน้าที่ในการจัดการขนส่งหรือจัดทำประกันภัย  
การกำหนดสถานที่หรือท่าเรือของท่านให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้  
กฎ Incoterms มิได้ทำให้สัญญาซื้อขายของท่านสมบูรณ์ เนื่องจากมีปัจจัยด้านอื่นๆเช่น เงื่อนไขการชำระ เงินค่าสินค้า  
 
  International Commercials Terms 2010
 
EXW (ระบุสถานที่ส่งมอบฺ..THE NAMED PLACE ) ย่อมากจาก Ex Works ซึ่งจะเริ่มด้วย Ex แล้วตามด้วยสถานที่ที่จะมอบสินค้า เช่น Ex Factory Ex Warehouse เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้า เมื่อผู้ขายได้เตรียมสินค้าไว้พร้อมสำหรับส่งมอบให้กับผู้ซื้อ ณ สถานที่ของผู้ขาย หรือ ณ สถานที่อื่นๆที่ระบุ เช่น โรงงาน คลังสินค้า ผู้ขายไม่จำเป็นต้องขนถ่ายสินค้าขึ้นยานพาหนะที่มารับสินค้า หรือไม่จำเป็นต้องผ่านพิธีการเพื่อการส่งออกโดยผู้ซื้อจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆในการขนส่งไปยังคลังสินค้าของผู้ซื้อเอง
 
FCA (ระบุสถานที่ส่งมอบ) ย่อมาจาก Free Carrier เงื่อนไขการส่งมอบนี้ เป็นภาระของผู้ขายเมื่อผู้ขายได้
ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับขนส่งรายแรก (Carrier) ตามสถานที่ที่ตกลงกัน รวมทั้งการผ่านพิธีการและเสียภาษีส่งออกให้ด้วย ส่วนค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการขนสินค้าและความเสี่ยงภัยต่างๆไปยังจุดหมายปลายทางเป็นของผู้ซื้อ
 
FAS (ระบุท่าเรือต้นทาง) ย่อมาจาก Free Alongside Ship ใช้เฉพาะการขนส่งทางน้ำเท่านั้น เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าตามสัญญาก็ต่อเมื่อผู้ขายได้นำสินค้าไปยังข้างเรือ ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุไว้ ค่าใช้จ่ายในการนำสินค้าขึ้นเรือ ค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าความเสี่ยงภัยในการนำของขึ้นเรือ และระหว่างการขนส่งเป็นภาระของผู้ซื้อในทันทีที่สินค้าถูกส่งมอบ ณ ข้างลำเรือ กฎนี้กำหนดให้ผู้ขายต้องผ่านพิธีการเพี่อการส่งออก  
FOB (ระบุท่าเรือต้นทาง) ย่อมาจาก Free on Board เทอมนี้จะระบุต่อท้ายด้วยท่าเรือที่กำหนด จึงเป็นเทอมที่ใช้สำหรับการขนส่งทางน้ำเท่านั้น เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้า เมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าข้ามกาบเรือขึ้นไปบนเรือสินค้า ณ ท่าเรือต้นทางที่ระบุไว้ ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบการทำพิธีการส่งออกด้วย ส่วนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าและค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้าเป็นภาระของผู้ซื้อ
 
CFR (ระบุท่าเรือปลายทาง) ย่อมากจาก Cost and Freight เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าเมื่อ ผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าข้ามกาบเรือขึ้นไปบนเรือ ความเสี่ยงต่อการสูญหายหรือเสียหายของสินค้าโอนไปเมื่อสินค้าอยู่บนเรือ ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบในการผ่านพิธีการทำเพื่อการส่งออก และจ่ายค่าระวางขนส่งสินค้า ส่วนค่าใช้จ่ายอื่นๆรวมทั้งความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้าเป็นภาระของผู้ซื้อ  
CIF (ระบุท่าเรือปลายทาง) ย่อมาจาก Cost Insurance and Freight ราคาที่ผู้ขายเสนอมา คือ ราคาที่คิดค่าสินค้ารวมค่าระวางเรือเดินสมุทร และค่าประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเล เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้า เมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้าไว้บนเรือ หรือจัดหาสินค้าที่ได้ทำการส่งมอบเรียบร้อยแล้ว ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบในการผ่านพิธีการเพื่อการส่งออก จ่ายค่าระวางเรือ และค่าประกันภัยขนส่งสินค้าเพื่อคุ้มครอง ความเสี่ยงภัยในการขนส่งสินค้าจนถึงมือผู้ซื้อ  
CPT (ระบุสถานที่ปลายทาง) ย่อมาจาก Carriage Paid To เงื่อนไขการส่งมอบนี้ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้าเมื่อผู้ขายได้ส่งมอบสินค้า ให้กับผู้ขนส่งหรือบุคคลอื่นที่ถูกแต่งตั้งโดยผู้ขายณ สถานที่ที่ได้ตกลงกันไว้ เงื่อนไขเหมือน CFR ทุกประการ เพียงแต่เพิ่มให้ผู้ขายต้องจัดการเอาประกันภัยให้กับสินค้าที่ขนส่ง ด้วยการชำระเบี้ยประกันจนถึงปลายทางด้วยเท่านั้น และความเสี่ยงของผู้ขายจะมีถึงจุดเหนือกราบเรือ เช่นเดียวกับเงือนไข FOB หรือ CFR เท่านั้น  
CIP (ระบุสถานที่ปลายทาง) ย่อมาจาก Carriage and Insurance Paid To เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะต้องทำสัญญา เพื่อการขนส่งและชำระค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการขนส่งที่จำเป็นในการนำสินค้าไปยังสถานที่ปลายทางที่ระบุผู้ขายต้องทำสัญญา เพื่อการประกันภัยคุ้มครองความเสี่ยงของผู้ซื้อสำหรับความสูญหายหรือเสียหายต่อสินค้าระหว่างการขนส่งด้วย ราคาที่ผู้ขายคิดจะรวมค่าสินค้า รวมค่าระวางเรือเดินสมุทร และค่าประกันภัยการขนส่งสินค้าทางทะเลด้วย  
DDP (ระบุสถานที่ปลายทาง) ย่อมาจาก DELIVERED DUTY PAID เงื่อนไขการส่งมอบนี้ ผู้ขายจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบ สินค้า เมื่อสินค้าถูกนำมาวางไว้ตามความประสงค์ของผู้ซื้อ ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบการผ่านพิธีการเพื่อการส่งออก จ่ายค่าระวางขนส่งสินค้า ค่าประกันภัยส่งสินค้า และเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการนำของลงจากเรือและค่าขนส่งสินค้าไปยังสถานที่ที่ผู้ซื้อระบุไว้ จนกระทั่งสินค้าพร้อมส่งมอบ ณ สถานที่ปลายทาง ผู้ขายต้องเป็นผู้ดำเนินพิธีการนำเข้าสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ ชำระทั้งอากรขาเข้าและดำเนินการผ่านพิธีการศุลกากรทั้งหมด  
DAT (ระบุท่าเทียบพาหนะขนส่ง ณ ท่าเรือหรือสถานที่ปลายทาง) ย่อมาจาก DELIVERED AT TERMINAL กฎนี้อาจถูกนำไปใช้โดยไม่คำนึงถึงรูปแบบของการขนส่งที่เลือกใช้ และอาจถูกนำไปใช้ในกรณีที่มีการขนส่งมากกว่าหนึ่งรูปแบบ ผู้ขายส่งมอบเมื่อสินค้าถูกนำมาวางไว้ตามความประสงค์ของผู้ซื้อ ณ ท่าเทียบพาหนะขนส่งที่ระบุที่ท่าเรือหรือสถานที่ปลายทางที่ระบุ หลังจากทำการขนถ่ายลงมาจากยานพาหนะที่มาถึงแล้ว ท่าเทียบพาหนะขนส่ง (TERMINAL) รวมถึงสถานที่ใดๆ เช่น หน้าท่าคลังสินค้า ลานตู้คอนเทนเนอร์ หรือท่าเทียบพาหนะขนส่งทางบก ทางราง หรือทางอากาศ ผู้ขายรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวกับการนำสินค้าไปถึง และ ณ ท่าเรือ หรือสถานที่ปลายทางที่ระบุ ผู้ขายต้องผ่านพิธีการ แต่ไม่มีภาระหน้าที่ผ่านพิธีการเพื่อการนำเข้า ชำระอากรขาเข้าใดๆ  
DAP (ระบุสถานที่ปลายทาง) DELIVERED AT PLACE เป็นเทอมใหม่แทน DAF (Delivered At Frontier), DES (Delivery Ex Ship), DEQ (Delivered ExQuay) และ DDU (Delivered Duty Unpaid) ซึ่งทางหอการค้านานาชาติเห็นว่า เทอมเดิมทั้งสี่เทอมดังกล่าว ค่อนข้างคล้ายกันมาก แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย จึงยุบรวมกันเพื่อให้เกิดความสะดวกยิ่งขึ้น ผู้ขายส่งมอบเมื่อสินค้าถูกนำมาวางไว้ตามความประสงค์ของผู้ซื้อ ในขณะที่สินค้ายังอยู่บนพาหนะขนส่งที่มาถึง ซึ่งพร้อมจะให้ทำการขนถ่าย ณ สถานที่ปลายทางที่ระบุ ผู้ขายรับความเสี่ยงทั้งหมดที่เกี่ยวกับการนำสินค้าไปถึงสถานที่ที่ระบุ ผู้ขายต้องผ่านพิธีการเพื่อการส่งออก แต่ไม่มีภาระหน้าที่ผ่านพิธีการเพื่อการนำเข้า ชำระอากรขาเข้าใดๆ  
Steklean Tailiang Chemical Piyasiri Wanit Kongsawan Chemical

หน้าหลัก | พิธีการศุลกากร | คลังสินค้า | แท็งค์ของเหลว | รถบรรทุก | ค่าระวาง | เคาน์เตอร์ เซอร์วิส | ท่าเรือ | เกี่ยวกับเรา | สมัครงาน | ติดต่อเรา | ถาม-ตอบ

กลุ่มบริษัทในเครือ : สเตคลีน | ไต๋เหลียง เคมีภัณฑ์ | ปิยะศิริวานิช | คงสวรรณ เคมีภัณฑ์