การส่งสินค้าออกจากประเทศไทยต้องผ่านพิธีการส่งออกตามกระบวนการปกติ ในความหมายของศุลกากรนั้น การส่งออก คือ การเคลื่อนย้ายสินค้าโดย เรือ หรือเครื่องบิน จากสถานที่หนึ่งในประเทศไทยไปยังสถานที่หนึ่งนอกประเทศไทย สินค้าทั้งหมดที่ส่งออกจากประเทศไทยต้องรายงานและผ่านพิธีการทางศุลกากรก่อนบรรทุกสินค้าในเรือ หรือเครื่องบินเพื่อการส่งออก กรมศุลกากรต้องได้รับข้อมูลของสินค้าดังกล่าว และอนุญาตให้ส่งออกได้ ข้อมูลการส่งออกส่วนใหญ่ส่งด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบ E-Export เอกสารที่จำเป็นในการยื่นเพื่อดำเนินพิธีการทางศุลกากรเพื่อส่งออก ประกอบด้วย
 
ใบขนสินค้าขาออก
 
บัญชีราคาสินค้า  
ใบอนุญาตส่งออกหรือเอกสารอื่นใดสำหรับสินค้าควบคุมการส่งออก (ถ้ามี)  
ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (ถ้ามี)  
เอกสารอื่นๆ เช่น แค็ดตาล็อก เอกสารแสดงส่วนผสม เป็นต้น  
 
  ขั้นตอนการปฏิบัติการส่งออก ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้
 
การโอนถ่าย และ/หรือ การยื่นข้อมูลใบขนสินค้า : พิธีการส่งออกเริ่มต้นเมื่อผู้ส่งออกหรือตัวแทนส่งข้อมูลใบขนสินค้าโดยใช้ eb-XML ผ่านระบบ VAN หรืออินเตอร์เน็ตเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร
 
การตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูล : ขั้นตอนที่ 2 คือ การตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ผู้ส่งออกยื่นมาทันทีที่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรได้รับข้อมูลใบขนสินค้า
ขาออก ข้อมูลจะได้รับจะถูกตรวจสอบ ในกรณีที่ข้อมูลที่ตรวจสอบแล้วไม่ปรากฏข้อผิดพลาดใดๆ ระบบจะออกเลขที่ใบขนสินค้าโดยเชื่อมต่อกับระบบ E-Payment (หากมีภาระภาษีอากร) ต่อจากนั้นระบบจะส่งข้อความตอบกลับไปยังผู้ส่งออกหรือตัวแทน
 
การชำระภาษีอากร : ขั้นตอนที่ 3 คือ การชำระภาษีอากรหรือการวางประกันที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบันสามารถชำระได้ 3 วิธี ได้แก่ ชำระที่กรมศุลกากร ชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) และชำระที่ธนาคาร
 
การตรวจและการปล่อยสินค้า : ขั้นตอนสุดท้าย คือ การตรวจและปล่อยสินค้าจากอารักขาของศุลกากร ในขั้นตอนนี้ Freight Forwarder บรรจุสินค้าในตู้สินค้าและส่งรายงานสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร ข้อมูลจะได้รับการตรวจสอบ ในกรณีที่ข้อมูลที่ตรวจสอบแล้วไม่ปรากฏข้อผิดพลาดใดๆ ระบบจะสร้างเลขที่กำกับการขนย้ายสินค้า และส่งข้อความไปยัง Freight Forwarder หลังจากนั้น Freight Forwarder พิมพ์ใบกำกับการขนย้ายที่ระบุหมายเลข และเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังท่าที่ส่งออก ในขั้นนี้ ข้อมูลของสินค้าถูกตรวจสอบความถูกต้องโดยละเอียดเพื่อระบุว่าสินค้าดังกล่าว ต้องผ่านการเปิดตรวจ (Red Line) หรือยกเว้นการตรวจ (Green Line) หากเป็นใบขนฯยกเว้นการตรวจจะใช้เวลาน้อยมาก ขณะที่สินค้าที่ต้องเปิดให้ตรวจจะถูกเคลื่อนย้ายเพื่อเตรียมให้เจ้าหน้าที่ศุลกากรตรวจ
 
 
Steklean Tailiang Chemical Piyasiri Wanit Kongsawan Chemical

หน้าหลัก | พิธีการศุลกากร | คลังสินค้า | แท็งค์ของเหลว | รถบรรทุก | ค่าระวาง | เคาน์เตอร์ เซอร์วิส | ท่าเรือ | เกี่ยวกับเรา | สมัครงาน | ติดต่อเรา | ถาม-ตอบ

กลุ่มบริษัทในเครือ : สเตคลีน | ไต๋เหลียง เคมีภัณฑ์ | ปิยะศิริวานิช | คงสวรรณ เคมีภัณฑ์