|
การกำหนดราคาศุลกากรตามวิธีที่ 1 : ราคาซื้อขายของที่นำเข้า หมายถึง ราคาซื้อขายที่ผู้ซื้อสินค้าได้ชำระจริงหรือที่จะต้องชำระให้กับผู้ขายในต่างประเทศสำหรับของที่นำเข้า ซึ่งได้มีการปรับราคาหรือได้นำมูลค่า หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆรวมด้วย เช่น ค่าวัสดุเสริม ค่านายหน้า หรือค่าสิทธิ เป็นต้น
|
|
|
การกำหนดราคาศุลกากรตามวิธีที่ 2 : ราคาซื้อขายของที่เหมือนกัน หมายถึง ราคาซื้อขายของที่เหมือนกันทุกอย่าง เช่น ลักษณะทางกายภาพ คุณภาพและชื่อเสียงซึ่งผลิตในประเทศเดียวกัน และเป็นผู้ผลิตเดียวกันกับของที่กำลังประเมินราคา |
|
|
การกำหนดราคาศุลกากรตามวิธีที่ 3 : ราคาซื้อขายของที่คล้ายกัน หมายถึง ราคาซื้อขายของที่คล้ายกันกับของที่กำลังประเมินราคา เช่น วัสดุ ส่วนประกอบ และลักษณะทางกายภาพต่างๆ สามารถทำหน้าที่ได้เหมือนกันต้องผลิตในประเทศเดียวกัน และเป็นผู้ผลิตเดียวกันกับของที่กำลังประเมินราคา |
|
|
การกำหนดราคาศุลกากรตามวิธีที่ 4 : ราคาหักทอน หมายถึง ราคาที่กำหนดขึ้นโดยใช้ราคาสินค้าที่กำลังจำหน่ายอยู่ในประเทศไทย โดยหักทอนค่าใช้จ่ายบางส่วนออกไป เช่น ค่านายหน้า ค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ค่าภาษีอากรในประเทศไทย มูลค่าเพิ่มของสินค้าที่เกิดขึ้นจากการประกอบหรือผ่านกระบวนการเพิ่มเติม |
|
|
การกำหนดราคาศุลกากรตามวิธีที่ 5 : ราคาคำนวณ หมายถึง ราคาที่กำหนดขึ้นตามต้นทุนการผลิตของสินค้าที่กำลังประเมินราคาบวกกับกำไรและค่าใช้จ่ายทั่วไปที่รวมอยู่ ตามปกติในการขายจากประเทศส่งออก |
|
|
การกำหนดราคาศุลกากรตามวิธีที่ 6 : ราคาย้อนกลับ หมายถึง การกำหนดราคาโดยใช้วิธียืดหยุ่นของวิธีใดๆ ก็ตามจากวิธีที่ 1-5 เพื่อให้สามารถกำหนดราคาสินค้าได้ |
|