|
|
|
|
|
การตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย หมายถึง การตรวจสอบระบบบัญชี บันทึก ระบบธุรกิจ และข้อมูลทางการค้าทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับศุลกากรซึ่งผู้ประกอบการหรือผู้เกี่ยวข้องครอบครองอยู่ โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะทำการตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ ณ สถานประกอบการของผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก ตัวแทนของเรือ ตัวแทนของบุคคลดังกล่าว หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง โดยให้เจ้าของสถานประกอบการเป็นผู้นำเอกสารหลักฐานมาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ณ สถานประกอบการนั้น
|
|
|
|
|
ผู้ประกอบการหรือผู้เกี่ยวข้องที่อยู่ในข่ายได้รับการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ได้แก่
|
|
|
|
1. ผู้นำของเข้า
|
|
|
2. ผู้ส่งของออก |
|
|
3. ตัวแทนของเรือ |
|
|
4. ตัวแทนของบุคคลตามข้อ (1) ถึงข้อ (3) |
|
|
5. บุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับบุคคลตามข้อ (1) ถึงข้อ (4) |
|
|
|
|
ผู้ประกอบการหรือผู้เกี่ยวข้องที่อยู่ในข่ายได้รับการตรวจสอบ มีหน้าที่จัดเก็บและรักษาบัญชีเอกสารหลักฐานและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการนำของเข้าและส่งของออกไว้ ณ สถานประกอบการหรือสถานที่อื่นที่อธิบดีกำหนดเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่นำของเข้าหรือส่งของออก
|
|
|
|
|
กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดสินค้าที่มีมาตรการนำเข้า ซึ่งต้องขอรับใบอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยขณะนี้มีอยู่ทั้งสิ้นประมาณ 50 ชนิด ที่จะต้องขออนุญาตนำเข้าจากกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งอาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์
|
|
|
|
|
ประเภทของเอกสารหลักฐานที่ผู้ประกอบการหรือผู้เกี่ยวข้องที่อยู่ในข่ายได้รับการตรวจสอบจะต้องจัดเก็บ ได้แก่ กรณีผู้นำของเข้า / ผู้ส่งของออก เช่น ใบเสร็จรับเงินค่าภาษีอากร ใบอนุญาตนำเข้า – ส่งออก งบการเงินและเอกสารทางบัญชีทุกประเภท เอกสารการชำระเงินค่าระวาง / ค่าประกันภัย ใบตราส่งสินค้า L/C และ / หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการรับ-จ่ายเงิน บัญชีราคาสินค้า Invoice ใบเสนอราคาสินค้า Pro-forma Invoice คำสั่ง / สัญญา / จดหมายโต้ตอบในการซื้อขายสินค้า ข้อตกลงเรื่องลิขสิทธิ์ ค่าสิทธิ Royalty ค่านายหน้า ข้อมูลการตรวจนับหรือลงบัญชีสินค้า รายงานการซื้อ – ขาย / การผลิต / การคำนวณต้นทุนสินค้าและเอกสารจำเป็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำของเข้าหรือส่งของออก
|
|
|
|
|
เจ้าหน้าที่ศุลกากรมีอำนาจเข้าไปในสถานประกอบการของผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับการนำของเข้าหรือส่งของออกรวมทั้งนำบัญชี เอกสารหลักฐาน และสิ่งของดังกล่าวไปตรวจสอบ ณ ที่ทำการศุลกากร (มาตรา 115 ทวิ แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469)
|
|
|
|
|
ขั้นตอนในการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ได้แก่
|
|
|
|
พนักงานเจ้าหน้าที่จะมีหนังสือแจ้งวัน เวลา และสถานที่ที่จะทำการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ณ สถานประกอบการให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 10 วัน หรือไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าก็ได้
|
|
|
ในการเข้าตรวจสอบ ประกอบด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่อย่างน้อย 3 คน และต้องแสดงบัตรประจำตัวข้าราชการ พร้อมหนังสือนำตัวซึ่งประกอบด้วยต้นฉบับและสำเนาคู่ฉบับ |
|
|
พนักงานเจ้าหน้าที่จะดำเนินการตรวจสอบให้แล้วเสร็จภายใน 10 วันทำการ อาจขอขยายเวลาต่อได้อีกครั้งละไม่เกิน 10 วันทำการ ทั้งนี้จะขยายเวลาได้ไม่เกิน 3 ครั้ง |
|
|
เมื่อตรวจสอบเอกสารเสร็จสิ้นแล้ว พนักงานเจ้าหน้าที่จะมีหนังสือแจ้งผลการตรวจสอบให้ทราบและดำเนินการ ดังนี้ ก.กรณีไม่พบความผิด จะเสนอต่อผู้บังคับบัญชาเพื่อยุติเรื่องและคืนเอกสารให้ผู้รับการตรวจสอบ / ข.กรณีตรวจพบความผิดตามกฎหมายศุลกากรหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง จะประเมินราคาและภาษีอากรแล้วส่งเรื่องให้สำนักกฎหมายหรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านคดีแล้วแต่กรณี เพื่อดำเนินการต่อไป |
|
|
|
|
กรมศุลกากรนำระบบการทบทวนหลังการตรวจปล่อย มาใช้ในงานศุลกากร เพื่อเป็นการสะดวกในการปฏิบัติพิธีการศุลกากร และประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรของรัฐ ซึ่งแนวทางหลังการตรวจปล่อยนั้นอาจกล่าวได้ ดังนี้ การทบทวนหลังการตรวจปล่อยใบขนสินค้าขาเข้าเมื่อเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ทบทวนหลังการตรวจปล่อยได้รับใบขนสินค้าขาเข้าแล้ว อาจดำเนินการการทบทวนหลังการตรวจปล่อยโดยการประเมินความเสี่ยงตามหลักเกณฑ์การเลือกตรวจที่ใบขนสินค้าฉบับใดเข้าข่ายหลักเกณฑ์ที่ต้องเลือกตรวจ โดยให้ทำการทบทวนใบขนสินค้าที่เข้าข่ายหลักเกณฑ์การเลือกตรวจ ดังนี้
|
|
|
|
ตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของเอกสารประกอบใบขนสินค้าขาเข้า
|
|
|
ตรวจสอบการสำแดงใบขนสินค้าขาเข้ากับบัญชีสินค้าและและเอกสารประกอบ |
|
|
ตรวจสอบการสำแดงใบขนสินค้าขาเข้าและบัญชีใบขนสินค้ากับข้อมูลที่ผู้ประกอบการส่งเข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์ |
|
|
ตรวจสอบพิธีการศุลกากรเบื้องต้น รวมถึงการอนุมัติ การยกเว้น การผ่อนผันสำหรับใบอนุญาต ใบทะเบียน หรือหนังสืออนุญาตต่างๆ ตามเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
|
|
ตรวจสอบว่าเป็นของต้องห้ามต้องกำกัดหรือไม่ ถ้าเป็นของต้องกำกัดให้ตรวจสอบใบอนุญาต ใบทะเบียน หนังสืออนุญาตต่าง ๆ ตามเงื่อนไขของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง |
|
|
ตรวจสอบความถูกต้องของประเภทพิกัดอัตราอากรศุลกากรภาษีสรรพสามิต ภาษีเพื่อมหาดไทยภาษีอื่นๆ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าธรรมเนียมของของแต่ละรายการในใบขนสินค้า |
|
|
ตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยนของเงินตราต่างประเทศและประเมินราคาสินค้า รวมทั้งการคำนวณเงินค่าภาษีอากร และค่าธรรมเนียมของของแต่ละรายการในใบขนสินค้า |
|
|
|
|
สำนักสืบสวนและปราบปรามมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
|
|
|
|
สืบสวน ป้องกัน และปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายว่าด้วยศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
|
|
|
ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบเอกสารภายหลังการผ่านพิธีการศุลกากร |
|
|
ดำเนินการเกี่ยวกับของกลางที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดทางศุลกากร |
|
|
เป็นศูนย์กลางการสื่อสารและโทรคมนาคมของกรมศุลกากร |
|
|
ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย |
|
|
|