การดำเนินพิธีการสำหรับการนำเข้าและการส่งออกสินค้า ผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายศุลกากรหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ในทุกๆขั้นตอนของการดำเนินการค้า ซึ่งรวมถึงการนำเข้าและส่งออกสินค้าและบริการ ผ่านช่องทางการขนส่งทางเรือและทางอากาศยานทั้งเข้าและออกประเทศไทย
 
 
 
การตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย หมายถึง การตรวจสอบระบบบัญชี บันทึก ระบบธุรกิจ และข้อมูลทางการค้าทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับศุลกากรซึ่งผู้ประกอบการหรือผู้เกี่ยวข้องครอบครองอยู่ โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะทำการตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ ณ สถานประกอบการของผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก ตัวแทนของเรือ ตัวแทนของบุคคลดังกล่าว หรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้อง โดยให้เจ้าของสถานประกอบการเป็นผู้นำเอกสารหลักฐานมาให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ณ สถานประกอบการนั้น
 
 
 
กฎหมายศุลกากรมีอำนาจตามที่ตัวบทกฎหมายบัญญัติไว้ รวมถึงอำนาจอันเนื่องมาจากหน่วยงานราชการอื่นๆ เพื่อดำเนินการกับของที่นำเข้าหรือส่งออกบริเวณพรมแดนของประเทศ และจัดเก็บภาษีศุลกากร รวมถึงภาษีอื่นๆที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายนั้นๆ
 
 
 
ผู้ประกอบการหรือผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศมีหน้าที่รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลสำแดงต่อศุลกากร
แม้ว่าผู้นำเข้าหรือส่งออกนั้นใช้บริการตัวแทนออก ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันความผิดพลาดโปรดตรวจสอบเอกสารด้วยตนเอง กรณีใช้บริการตัวแทนออกของก่อนยื่นต่อศุลกากร ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามกฎหมายศุลกากรกำหนดจะมีความผิดตามกฎหมายและจะได้รับโทษ โดยความผิดทางศุลกากรที่มักพบได้เสมอๆ ในการการนำเข้าและการส่งออกสินค้า สามารถจำแนกออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
 
ความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร : การลักลอบหนีศุลกากร หมายถึง การนำของที่ยังไม่ได้เสียค่าภาษีอากรหรือของที่ควบคุมการนำเข้าหรือของที่ยังไม่ได้ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาหรือส่งออกไปนอกประเทศไทย โดยของที่ลักลอบหนีศุลกากรอาจเป็นของที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ต้องเสียภาษีก็ได้ หรืออาจเป็นของต้องห้ามหรือของต้องกำกัดหรือไม่ก็ได้ หากไม่นำมาผ่านพิธีการศุลกากร ก็มีความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรทั้งนี้ กฎหมายศุลกากรได้กำหนดโทษผู้กระทำผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆไว้สูงสุด คือ ให้ริบของที่ลักลอบหนีศุลกากรและปรับเป็นเงิน 4 เท่าของของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับและจำ
 
ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร : การหลีกเลี่ยงภาษีอากร หมายถึง การนำของที่ต้องชำระค่าภาษีอากรเข้ามาหรือส่งของออกไปนอกประเทศไทย โดยนำมาผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง แต่ใช้วิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมีเจตนาเพื่อมิให้ต้องชำระค่าภาษีอากรหรือชำระในจำนวนที่น้อยกว่าที่จะต้องชำระ เช่น สำแดงปริมาณ น้ำหนัก ราคา ชนิดสินค้า หรือพิกัดอัตราศุลกากรเป็นเท็จ เป็นต้น ดังนั้นผู้นำเข้าหรือส่งออกที่มีความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากรจึงมีความผิดฐานสำแดงเท็จอีกฐานหนึ่งด้วย กฎหมายศุลกากรได้กำหนดโทษผู้กระทำผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากรไว้สูงสุด คือ ให้ริบของที่หลีกเลี่ยงภาษีอากรและปรับเป็นเงิน 4 เท่าของของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับและจำ แต่ในกรณีที่มีการนำของซุกซ่อนมากับของที่สำแดงเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอากรสำหรับของซุกซ่อน โทษสำหรับผู้กระทำผิดคือ ปรับ 4 เท่า ของอากรที่ขาดกับอีก 1 เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยที่ขาด (ถ้ามี) และให้ยกของที่ซุกซ่อนมาให้เป็นของแผ่นดิน
 
ความผิดฐานสำแดงเท็จ : การสำแดงเท็จ หมายถึง การสำแดงใดๆ เกี่ยวกับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าไม่ตรงกับหลักฐานเอกสารและข้อเท็จจริงในการนำเข้าและส่งออก การกระทำผิดฐานสำแดงเท็จมีหลายลักษณะ ดังนี้
 
 
  1. การยื่นใบขนสินค้า คำสำแดง ใบรับรอง บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นต่อกรมศุลกากรเป็นความเท็จหรือไม่บริบูรณ์หรือชักพาให้หลงผิดในรายการใดๆ ก็ตาม
  2. การไม่ตอบคำถามของเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายด้วยความสัตย์จริง
  3. การไม่ยอมหรือละเลย ไม่ทำ ไม่รักษาบันทึกเรื่องราว ทะเบียน สมุดบัญชี เอกสาร หรือตราสารอย่างอื่นๆ ซึ่งกฎหมายศุลกากรกำหนดไว้
  4. การปลอมแปลงหรือใช้เอกสาร บันทึกเรื่องราวหรือตราสารอย่างอื่นที่ปลอมแปลงแล้ว
  5. การแก้ไขเอกสาร บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นภายหลังที่ทางราชการออกให้แล้ว
  6. การปลอมดวงตรา ลายมือชื่อ ลายมือชื่อย่อ หรือเครื่องหมายอย่างอื่นของพนักงานศุลกากรซึ่งพนักงานศุลกากรนั้นๆ ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
 
 
การกระทำตามลักษณะดังกล่าวข้างต้นให้ถือเป็นความผิดโดยมิต้องคำนึงถึงว่า ผู้กระทำผิดมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ ทั้งนี้ กฎหมายศุลกากรได้กำหนดโทษผู้กระทำผิดฐานสำแดงเท็จไว้สูงสุดคือ ปรับเป็นเงินไม่เกิน 50,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน
 
ความผิดฐานนำของต้องห้ามต้องกำกัดเข้ามาในหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร : ของต้องห้าม คือ ของที่มีกฎหมายห้ามมิให้นำเข้าหรือส่งออก เช่น วัตถุลามก ของที่มีการแสดงถิ่นกำเนิดเป็นเท็จ ของที่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น ส่วนของต้องกำกัด คือ ของที่จะนำเข้า-ส่งออกได้ ต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องนั้นๆ เช่น ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกของกระทรวงอุตสาหกรรมหรือกระทรวงสาธารณสุข ต้องปฏิบัติตามประกาศอันเกี่ยวกับฉลากหรือใบรับรองการวิเคราะห์หรือเอกสารกำกับยา เป็นต้น ของต้องกำกัดเหล่านี้หากปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายอื่นๆกำหนดแล้ว ก็สามารถนำเข้าหรือส่งออกได้ กฎหมายศุลกากรได้กำหนดโทษผู้กระทำผิดในการนำของต้องห้ามต้องกำกัดเข้าประเทศไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ไว้สูงสุด คือ ให้ริบของที่หลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อกำกัดและปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับและจำ
 
ความผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากร : ในการนำเข้าและส่งออกสินค้าแต่ละครั้ง ผู้นำเข้าและส่งออกจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายศุลกากรและกฏหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารและการควบคุมการจัดเก็บภาษีและการนำเข้า - ส่งออกเป็นไปด้วยความเรียบร้อย การกระทำผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากรมีหลายลักษณะ เช่น การขอยื่นปฏิบัติพิธีการ ศุลกากรแบบใบขนสินค้าขาเข้าตามมาตรา 19 ทวิ ย้อนหลัง
 
Steklean Tailiang Chemical Piyasiri Wanit Kongsawan Chemical

หน้าหลัก | พิธีการศุลกากร | คลังสินค้า | แท็งค์ของเหลว | รถบรรทุก | ค่าระวาง | เคาน์เตอร์ เซอร์วิส | ท่าเรือ | เกี่ยวกับเรา | สมัครงาน | ติดต่อเรา | ถาม-ตอบ

กลุ่มบริษัทในเครือ : สเตคลีน | ไต๋เหลียง เคมีภัณฑ์ | ปิยะศิริวานิช | คงสวรรณ เคมีภัณฑ์