|
|
|
|
การประกันภัยการขนส่งสินค้าในประเทศ หมายถึง การที่ผู้รับประกันภัยตกลงจะชดใช้ความเสียหาย หรือการสูญเสียของทรัพย์สินที่รับประกันภัยไว้ โดยที่ความเสียหายหรือการสูญเสียนั้นเกิดจากภัยที่ได้รับเสี่ยงภัยในระหว่างการขนส่งทรัพย์สินนั้น
|
|
|
|
|
|
จุดแบ่งของการประกันภัยการขนส่งทางทะเล และการขนส่งภายในประเทศ อยู่ที่ขอบเขตของการขนส่ง การขนส่งทรัพย์สินภายในประเทศจะต้องมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดการขนส่งอยู่ภายในประเทศไทย ซึ่งรวมถึงน่านน้ำไทยด้วย เช่น การขนส่งทรัพย์สินจากกรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดนราธิวาส หรือจากเกาะสีชังไปยังเกาะสมุย เป็นต้น แต่ถ้าเป็นการขนส่งที่ข้ามประเทศแล้ว ก็ต้องถือว่าเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ เช่น การขนสินค้าจากสถานีรถไฟหัวลำโพงไปยังประเทศมาเลเซีย
|
|
|
|
|
หลักสำคัญของใบคำขอเอาประกันภัย คือ ผู้เอาประกันภัยจะต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญที่เกี่ยวกับการเสี่ยงภัยทั้งหมด ข้อความที่สำคัญในใบคำขอเอาประกันภัยการขนส่งสินค้าภายในประเทศ มีดังนี้
|
|
|
|
ชื่อหรือยี่ห้อของผู้เอาประกันภัย
|
|
|
รายละเอียดของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย เช่น จำนวน ชนิด การบรรจุหีบห่อ |
|
|
ชนิดของยานพาหนะที่ใช้ขนส่ง พร้อมชื่อหรือทะเบียนยานพาหนะนั้น |
|
|
จำนวนเงินเอาประกันภัย |
|
|
ชื่อของเจ้าของยานพาหนะ หรือผู้ขนส่ง |
|
|
ระยะเวลาคุ้มครอง |
|
|
จุดเริ่มต้นการคุ้มครองอยู่ ณ ที่ใด สิ้นสุดการคุ้มครอง ณ ที่ใด
|
|
|
ประเภทของภัยที่ต้องการให้คุ้มครอง |
|
|
วันที่ขอทำสัญญาประกันภัย |
|
|
ช่องลงลายมือชื่อของผู้เอาประกันภัย |
|
|
|
|
กรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งภายในประเทศ เป็นหนังสือหลักฐานของการทำสัญญาประกันภัยการขนส่งภายในประเทศ ภัยที่คุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งภายในประเทศ ได้กำหนดไว้ในหมวด 1 สัญญาความคุ้มครองในหมวดนี้ได้แบ่งประเภทภัยที่ได้รับความคุ้มครองไว้ 6 ประเภทด้วยกัน โดยผู้เอาประกันภัยจะต้องเลือกความคุ้มครองข้อใดข้อหนึ่งเท่านั้น โดยมีรายละเอียดของภัยที่คุ้มครอง ดังนี้
|
|
|
|
1. คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายโดยสิ้นเชิงของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย โดยมีสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยตรงจากยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งได้เกิดความสูญเสียหรือความเสียหายโดยสิ้นเชิงจากอัคคีภัย การระเบิด ยานพาหนะนั้นชนกับยานพาหนะชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือชนกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ภายนอกยานพาหนะนั้น (ซึ่งมิใช่ถนน ทางเท้า หลุมบนถนนอากาศ น้ำ) เรือจม เรือเกยตื้น เครื่องบินตก รถหรือรถไฟคว่ำตกสะพาน ตกราง หรือสะพานขาด
|
|
|
2. คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายโดยสิ้นเชิงของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย โดยมีสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยตรงจากยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งนั้นประสบภัยโดยตรงจากอัคคีภัย การระเบิด ยานพาหนะนั้นชนกับยานพาหนะชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือชนกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ภายนอกยานพาหนะนั้น (ซึ่งมิใช่ถนน ทางเท้า หลุมบนถนนอากาศ น้ำ) เรือจม เรือเกยตื้น เครื่องบินตก รถหรือรถไฟคว่ำตกสะพาน ตกราง หรือสะพานขาด |
|
|
3. คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายโดยสิ้นเชิงหรือบางส่วน ของ ทรัพย์สินที่เอาประกันภัย โดยมีสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยตรงจากยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งนั้นประสบภัยโดยตรงจากอัคคีภัย การระเบิด ยานพาหนะนั้นชนกับยานพาหนะชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือชนกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งภายนอกยานพาหนะนั้น (ซึ่งมิใช่ถนน ทางเท้า หลุมบนถนนอากาศ น้ำ) เรือจม เรือเกยตื้น เครื่องบินตก รถหรือรถไฟคว่ำตกสะพาน ตกราง หรือสะพานขาด |
|
|
4. ก. ความคุ้มครองเหมือน ข้อ 3) / ข. คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายโดยสิ้นเชิงของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย หีบห่อใดหีบห่อหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นโดยตรงในระหว่างการขนขึ้น หรือขนลงจากยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งนั้น
|
|
|
5. ก. ความคุ้มครองเหมือน ข้อ 3) และข้อ 4) ข. / ข. คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายโดยสิ้นเชิง หรือบางส่วนของทรัพย์สินที่เอาประกันภัย โดยมีสาเหตุที่เกิดขึ้นโดยตรงจากภัยแผ่นดินไหว ฟ้าผ่า น้ำทะเล น้ำในแม่น้ำ น้ำฝน น้ำจืด น้ำทะเลสาบ |
|
|
6. คุ้มครองความสูญเสียหรือความเสียหายโดยสิ้นเชิง หรือบางส่วนของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยจากการเสี่ยงภัยทุกชนิด ที่เกิดขึ้นจากเหตุภายนอกของทรัพย์สิน |
|
|
|
|
ในกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งสินค้าภายในประเทศ ได้กำหนดข้อยกเว้นพื้นฐาน 5 ข้อ ดังนี้
|
|
|
|
จะไม่คุ้มครองความเสียหาย หรือความสูญเสียใดๆที่ต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าความเสียหายหรือความสูญเสียนั้น จะต่อเนื่องมาจากภัยที่ได้รับความคุ้มครองก็ตาม
|
|
|
จะไม่คุ้มครองความเสียหาย หรือความสูญเสียใดๆ ที่เกิดขึ้นโดยตรงหรือต่อเนื่องจากภัยสงคราม (ไม่ว่าจะมีการประกาศหรือไม่ก็ตาม) สงครามกลางเมือง การกบฏ การปฏิวัติ การก่อการร้าย การก่อวินาศกรรม ทุ่นระเบิดตอร์ปิโด หรืออาวุธสงครามอื่นๆ การจลาจล การแข็งข้อหรือการต่อสู้ของประชาชน การถูกยึดไปใช้โดยกฎอัยการศึก การนัดหยุดงาน |
|
|
จะไม่คุ้มครองความเสียหาย หรือความสูญเสียใดๆ อันเกิดขึ้นจากยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งนั้นเสื่อมสภาพ หรือไม่เหมาะสมแก่การใช้บรรทุกขนส่ง การบรรทุกเกินขนาดน้ำหนักที่จะบรรทุกได้ การบรรทุกผิดหลักระวาง |
|
|
จะไม่คุ้มครองความเสียหาย หรือความสูญเสียใดๆ หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุจากการเสื่อมเสีย หรือการขาดหายตามธรรมชาติของทรัพย์สินที่เอาประกันภัยนั้นเอง หรือจากการล่าช้า แม้ว่าการล่าช้านั้น จะเกิดจากภัยที่ได้รับความคุ้มครองไว้ก็ตาม
|
|
|
จะไม่คุ้มครองความเสียหาย หรือความสูญเสียใดๆ หรือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นโดยตรง หรือต่อเนื่องจากภัยใดๆ นอกเหนือจากที่ได้ระบุไว้ใน “ประเภทภัยที่คุ้มครอง” และภัยเพิ่มเติมดังระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยนี้ |
|
|
|
|
|
การลักขโมย การโจรกรรม
|
|
|
การรับมอบทรัพย์สินไม่ครบจำนวนที่ส่งจากต้นทาง |
|
|
การแตกหัก การบุบงอ การถลอก |
|
|
การเปียกน้ำฝน น้ำจืด น้ำทะเลสาบ น้ำทะเล
|
|
|
การปล้นทรัพย์ การชิงทรัพย์ |
|
|
การสกปรก เปรอะเปื้อน ถูกเจือปนด้วยสิ่งของอื่นๆที่ส่งมาด้วย |
|
|
การรั่วไหล หรือการขาดจำนวนไป |
|
|
ความเสียหายจากตะขอที่ใช้ในการขนถ่ายสินค้า |
|
|
|
|
เอกสารประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนการขนส่งภายในประเทศ ได้แก่
|
|
|
|
ต้นฉบับกรมธรรม์ประกันภัยการขนส่งภายในประเทศ
|
|
|
ใบกำกับสินค้า |
|
|
ใบแสดงรายละเอียดสินค้า เช่น จำนวนหีบห่อ และปริมาณของสินค้า |
|
|
ต้นฉบับใบรับขนส่งที่ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัย เป็นใบที่แสดงว่าผู้ขนส่งได้รับขนส่งทรัพย์สินนั้นจริง
|
|
|
รายงานการสำรวจความเสียหายหรือการสูญเสีย |
|
|
หนังสือโต้ตอบระหว่างผู้เอาประกันภัยกับผู้ขนส่ง หรือผู้ที่ต้องรับผิด |
|
|
หนังสือเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนของผู้เอาประกันภัย ที่ทำต่อผู้รับประกันภัย |
|
|
|