|
|
|
|
|
การขนส่งสำหรับการค้าระหว่างประเทศในปัจจุบันมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทางโลจิสติกส์ ภาครัฐให้การสนับสนุนการพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศ เพื่อให้เอกชนสามารถบริหารจัดการสินค้าตลอดกระบวนการทั้งการนำเข้าและส่งออกสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งเป็นการส่งเสริมศักยภาพในการแข่งขันสำหรับการค้าระหว่างประเทศ การบริการที่ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเสนอให้บริการแก่เจ้าของสินค้ามีตั้งแต่การจัดการเกี่ยวกับเส้นทางการส่งสินค้า เช่น การจองระวางเรือให้แก่เจ้าของสินค้า หรือการดำเนินการพิธีการศุลกากร การให้บริการบรรจุภัณฑ์ รวมถึงการจัดการทางด้านการขนส่งครบวงจร และกระบวนการจำแนกแจกจ่ายสินค้าไปยังที่ต่างๆ |
|
|
|
|
|
การขนส่งที่ดี ควรมีลักษณะ ดังนี้
|
|
|
|
มีความปลอดภัย ซึ่งในการขนส่งต้องมีระบบการป้องกันการสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งที่ทำการขนส่ง
|
|
|
มีความรวดเร็วตรงต่อเวลา ทันเวลาตามความต้องการของผู้บริโภค สินค้าบางประเภทมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลา เช่น ผลไม้ ดอกไม้ สิ่งมีชีวิต ถ้าขนส่งล่าช้า จะทำให้สินค้าเน่าเสียทำให้ธุรกิจเสียหายได้ |
|
|
ประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งการขนส่งถือว่าเป็นต้นทุนประเภทหนึ่งของการประกอบธุรกิจ ดังนั้น ผู้ประกอบธุรกิจต้องเลือกการขนส่งที่เหมาะสมและเสียค่าใช้จ่ายต่ำ |
|
|
มีความสะดวกสบาย ผู้ประกอบธุรกิจต้องเลือกวิธีการขนส่งทีเหมาะสมและมีความสะดวกสบาย เพื่อการดำเนินธุรกิจมีความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น |
|
|
|
|
ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกวิธีการขนส่ง ได้แก่ |
|
|
|
ตัวผลิตภัณฑ์ (ของแข็ง, ของเหลว, มูลค่า) ดูทางกายภาพ
|
|
|
แหล่งที่ตั้งของตลาดและระยะทาง (เส้นทางการขนส่ง) |
|
|
ความเร็ว (ค่าระวาง) |
|
|
อัตราค่าระวาง |
|
|
ความน่าเชื่อถือ |
|
|
|
|
รูปแบบของการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ |
|
|
|
โดยเรือ : เหมาะสมกับการขนส่งคราวละมากๆ ระยะทางไกล ต้นทุนต่ำ ไม่เร่งด่วน ต้องการการวางแผนที่ดี เช่น สินค้าวัตถุดิบ ส่วนประกอบ เครื่องจักร ปัจจุบันนิยมการขนส่งทางเรือระบบคอนเทนเนอร์
|
|
|
โดยเครื่องบิน : เหมาะสมกับการขนส่งที่ต้องการความเร่งด่วน ปริมาณน้อย ต้นทุนสูง ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคได้ดี เช่น อะไหล่เครื่องจักร สินค้าแฟชั่น ผัก ผลไม้ เครื่องประดับ |
|
|
โดยรถบรรทุก : เหมาะสมกับการขนส่งประเทศใกล้เคียง ระยะสั้น ดำเนินการง่าย ส่งมอบรวดเร็วตามกำหนด เช่น สินค้าอุปโภค บริโภค ส่งไปประเทศพม่า ลาว กัมพูชา มาเลเซีย |
|
|
โดยทางรถไฟ : เหมาะสมกับการขนส่งประเทศใกล้เคียง ระยะสั้น ต้นทุนต่ำ เช่น ส่งออกนำเข้าด่านปาดังเบซาร์ประเทศมาเลเซีย มีเส้นทางรถไฟ กรุงเทพฯ – หาดใหญ่ – ปาดังเบซาร์ – มาเลเซียเชื่อมสู่สิงคโปร์ โดยขบวนการรถไฟระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่ใช้สำหรับการขนส่งสินค้าที่มีน้ำหนักมาก |
|
|
โดยทางท่อ : เหมาะสมกับการขนส่งประเทศใกล้เคียง สินค้าเป็นน้ำมัน แก๊ส |
|
|
โดยไปรษณีย์ : เหมาะสมกับตัวอย่างสินค้า สะดวก ต้นทุนต่ำ |
|
|
|
|
ธุรกิจรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นได้ เพราะผู้ส่งออกและผู้นำเข้าไม่ประสงค์ที่จะเข้ามาดำเนินการเรื่องการออกสินค้า การส่งสินค้า และการติดต่อเกี่ยวกับเอกสารการส่งออกและนำเข้าเอง เนื่องจากต้องการที่จะมุ่งเน้นในการใช้เวลาของตนในการผลิตสินค้า และการค้าขายสินค้าของตน ซึ่งตนเองมีความชำนาญมากกว่าอย่างเต็มที่ ด้วยเหตุนี้ ธุรกรรมเหล่านี้ จึงได้ถูกมอบหมายมาให้ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศแทน ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศจึงได้มีโอกาศเข้าไปให้บริการทั้งด้านผู้ส่งออก และผู้นำเข้าโดยมีธุรกรรมการให้บริการ ซึ่งสามารถกล่าวโดยละเอียด ดังนี้
|
|
|
|
|
1. การให้บริการแก่ผู้ส่งออก (ผู้ส่งสินค้า) ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสามารถให้บริการได้ ดังนี้
|
|
|
|
เลือกเส้นทางตลอดจนรูปแบบการขนส่ง และผู้ขนส่งที่น่าเชื่อถือให้แก่ผู้ส่งออก
|
|
|
จองระวางเรือให้แก่ผู้ส่งออก |
|
|
ส่งสินค้าและออกเอกสารที่เกี่ยวข้องให้แก่ผู้ส่งออก |
|
|
จัดแจงเรื่องโกดังเพื่อใช้ในการเก็บสินค้า (ถ้าจำเป็น) |
|
|
วัดและชั่งน้ำหนักสินค้า |
|
|
ทำการส่งสินค้าไปยังท่าเรือและจัดแจงด้านพิธีการศุลกากร ตลอดจนดำเนินการเรื่องเอกสารต่างๆแก่ ผู้ส่งออกแล้วส่งสินค้าลงเรือ |
|
|
|
|
2. การบริการที่ให้แก่ผู้รับสินค้า (ผู้นำเข้า) ผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศสามารถดำเนินธุรกรรมให้บริการภายใต้คำแนะนำที่เขาได้รับจากผู้รับสินค้า ดังนี้
|
|
|
|
ติดตามสินค้าแทนผู้รับสินค้า เมื่อผู้รับสินค้าเป็นผู้รับผิดชอบในการขนสินค้า
|
|
|
รับและตรวจสอบเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งสินค้า |
|
|
รับสินค้าจากผู้ส่งสินค้า และชำระค่าระวางบรรทุก |
|
|
ดำเนินพิธีการศุลกากรและชำระเงินภาษี ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายต่างๆ แก่ศุลกากรตลอดจนเจ้าหน้าที่ของทางการอื่นๆ |
|
|
จัดส่งสินค้าที่ผ่านพิธีการศุลกากร |
|
|
ช่วยผู้รับสินค้าในการเก็บสินค้าเข้าโกดัง |
|
|
|