|
|
|
|
|
ความรับผิดชอบค่าขนส่ง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
|
|
|
|
|
ผู้ส่งออกเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่ง : ผู้ส่งออกเป็นผู้จองเรือเอง ผู้ส่งออกจะสิ้นสุดภาระการส่งมอบสินค้า เมื่อผู้ส่งออกได้ส่งมอบสินค้าข้างกาบเรือขึ้นไปบนเรือสินค้า ค่าใช้จ่ายและความเสี่ยงต่างๆ ที่เกิดขึ้นผู้ส่งออกจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ และจะต้องคิดรวมกับราคาค่าสินค้า ซึ่งใน Proforma Invoice ต้องระบุ Term การขนส่งเป็น CFR หรือ CIF และตามด้วยท่าเรือปลายทาง ซึ่งเป็นการบ่งบอกถึงความรับผิดชอบในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการขนส่งและความเสี่ยง ผู้ส่งออกหมดภาระต่อเมื่อสินค้าไปถึงท่าเรือปลายทาง ในส่วนของผู้นำเข้าจะรับผิดชอบนับตั้งแต่ยกสินค้าลงจากเรือที่ท่าเรือปลายทาง จนกระทั้งถึงโรงงาน รวมทั้งในเอกสาร Bill Of Lading (B/L) หรือใบตราส่งสินค้าทางเรือต้องระบุ Freight Collect ลงในเอกสารด้วย ซึ่งเป็นข้อความยืนยันว่าค่า Freight ถูกจ่ายแล้ว ณ ต้นทาง
|
|
|
ผู้นำเข้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าขนส่ง : ในกรณีที่ผู้นำเข้าเป็นผู้จองเรือเอง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากท่าเรือต้นทางและความเสี่ยง จนกระทั่งถึงท่าเรือปลายทาง จะอยู่ในความรับผิดชอบของผู้นำเข้า ส่วนผู้ส่งออกจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายจากโรงงานจนถึงท่าเรือต้นทาง และใน Proforma Invoice จะระบุ Term การขนส่งเป็น FOB และตามด้วยท่าเรือต้นทาง รวมทั้งในเอกสาร Bill Of Lading (B/L) หรือใบตราส่งสินค้าทางเรือต้องระบุ Freight Prepaid ลงในเอกสารเช่นกัน ซึ่งเป็นการยืนยันว่า Freight จะจ่าย ณ ประเทศปลายทาง |
|
|
|
|
ประเทศปลายทาง ท่าเรือปลายทาง หรือสถานที่ส่งมอบสินค้า ณ ประเทศปลายทาง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ |
|
|
|
Port to Port คือ ขนส่งจากเมืองท่าในประเทศไทย ถึงเมืองท่าประเทศประเทศปลายทาง ในกรณีนี้ ผู้ส่งออกต้องทราบว่า เมืองท่าปลายทางที่ขนส่งสินค้าไปนั้นชื่ออะไร โดยระบุไว้อย่างชัดเจนใน Proforma Invoice ซึ่งผู้ส่งออกสามารถขอข้อมูลส่วนนี้จากลูกค้าปลายทางได้เลย หรือในกรณีของผู้นำเข้า ต้องให้ผู้ส่งออกระบุท่าเรือต้นทางอย่างชัดเจน เพราะมีผลต่อค่าใช้จ่ายในเรื่องของค่าระวางเรือ ในกรณีที่ Term การขนส่งเป็น FOB
|
|
|
Door to Door คือ การขนส่งสินค้าจากโรงงานของผู้ส่งออกจนถึงสถานที่รับมอบสินค้า ณ ประเทศปลายทาง หรือในกรณีนำเข้า ผู้นำเข้าต้องรับผิดชอบตั้งแต่โรงงานของผู้ส่งออก จนกระทั่งโรงงานของผู้นำเข้าเอง ซึ่งในรายละเอียด ผู้นำเข้า หรือผู้ส่งออกต้องแจ้งซื่อที่อยู่ ณ ต้นทาง หรือปลายทางอย่างชัดเจน |
|
|
|
|
ประเภทของสินค้าที่จะส่งออก สามาถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ |
|
|
|
|
General Goods สินค้าทั่วไป : เป็นสินค้าที่ไม่เกิดอันตรายในระหว่างการขนส่ง ซึ่งถ้าเป็นสินค้าทั่วไป จะสะดวกในการขนส่ง หรือเป็นสินค้าที่ไม่ทำให้สินค้าตัวอื่นเกิดความเสียหาย เมื่อมีการขนส่งร่วมกับผู้อื่น ซึ่งอัตราของค่าขนส่งจะคิดในอัตราปกติทั่วไป
|
|
|
Dangerous Goods สินค้าอันตราย : เป็นสินค้าที่มีโอกาสเกิดอันตรายในระหว่างการขนส่งได้ ซึ่งสินค้าอันตรายจะมีระดับของความอันตราย ระบุอยู่ใน MSDS (Material Safty Data Sheet) ผู้ส่งออกต้องมีเอกสารตัวนี้ประกอบในการจองเรือก่อนเสมอ เพราะ MSDS เป็นเอกสารประกอบที่สำคัญของสินค้าอันตราย ซึ่งอัตราค่าขนส่งจะสูงกว่าสินค้าทั่วไป 2 – 3 เท่า หากไม่มีเอกสารตัวนี้ประกอบ ทางสายเรือจะไม่รับจองเรือ |
|
|
|
|
|
|
จำนวนและขนาดของสินค้าที่จะส่งออก : ผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าควรทราบขนาดของสินค้า ขนาดของหีบห่อ หรือน้ำหนัก ซึ่งจะมีผลต่อการคิดค่าระวางเรือ (Freight Charge) ซึ่งการคำนวณค่าระวางเรือมีวิธีการคำนวณที่แตกต่างกัน โดยคำนวณจากปริมาตรของสินค้า กว้าง x สูง x ยาว หรือคำนวณจากน้ำหนักของสินค้า น้ำหนักของสินค้าที่บรรทุกจะมีอัตราการคิดที่แตกต่างกันตามประเภทของสินค้า |
|
|
|
|
สินค้าพร้อมเมื่อใด : ในกรณีของการส่งออก ผู้ส่งออกควรทราบระยะเวลาที่ลูกค้าต้องการสินค้า เพื่อมาคำนวณเวลาในการผลิต และคำนวณระยะเวลาของการขนส่ง เพื่อลดความผิดพลาดในเรื่องของการส่งมอบสินค้าล่าช้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจมีผลต่อการซื้อขายในครั้งต่อไป ในกรณีของการนำเข้าสินค้า ผู้นำเข้าควรแจ้งผู้ผลิตหรือผู้ส่งออก ว่าต้องการให้สินค้ามาถึงในระยะเวลาที่ต้องการ เพื่อนำสินค้ามาขายต่อ หรือนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตอย่างต่อเนื่อง ระยะเวลาการส่งมอบสินค้า ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าควรทราบ และควรแจ้งกับผู้จองเรือ เพื่อหาเรือที่มีตารางการเดินเรือให้ใกล้เคียงที่ผู้ส่งออกหรือผู้นำเข้าต้องการมากที่สุด |
|
|
|