|
|
|
|
|
เนื่องจากในปัจจุบัน การขนส่งสินค้าส่วนใหญ่จะใช้การขนส่งทางทะเลด้วยเรือประเภท Container Ship จึงควรเข้าใจถึงลักษณะและประเภทของ Container ซึ่งจะเป็น Durable Packing เป็นลักษณะตู้ทำด้วยเหล็กหรืออลูมิเนียม มีขนาดมาตรฐาน 20 ฟุต และ 40 ฟุต ซึ่งบริษัทเรือจะต้องเป็นผู้เตรียมตู้ Container โดยผู้ที่จะใช้ตู้ต้องทำการจองตู้ โดยเอกสารที่เรียกว่า Shipping Particular หรือที่เรียกว่าใบ Booking ซึ่งรายละเอียดจะต้องคล้องจองกับ Letter of Credit (L/C) ซึ่งเอกสารที่ใช้ในการเป็นใบรับสินค้าของตัวแทนบริษัทเรือเรียกว่า Bill of Lading (B/L) หรือใบตราส่ง ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญในการเป็นเอกสารในการเรียกเก็บเงินจากทางธนาคาร ซึ่งเรียกว่า Bank Negotiated Process ในการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศคู่ค้า จะต้องมีการตกลงว่าผู้ซื้อหรือผู้ขายสินค้าจะเป็นคนจ่ายค่าระวางเรือที่เรียกว่า Freight Charge หากผู้ขายสินค้าเป็นผู้ชำระ เรียกว่า Freight Prepaid หากจะให้ผู้ซื้อเป็นผู้ชำระค่าระวางเรือเมื่อถึงปลายทาง เรียกว่า Freight Collect
|
|
|
|
|
|
การคิดค่าระวางเรือ มีวิธีการ ได้แก่
|
|
|
|
Weight Ton คำนวณจากน้ำหนักสินค้าที่บรรทุกและจะมีอัตราการคิดที่แตกต่างกันตามแต่ละประเภทของสินค้า
|
|
|
Measurement (ใช้มาก) โดยคำนวณจากปริมาตรของสินค้า คือ เป็นการวัดขนาดของสินค้ากว้าง x ยาว x สูง คำนวณออกมาเป็นลูกบาศก์เมตร (M3 หรือ CBM) แต่ทั้งนี้จะต้องมีการชั่งน้ำหนัก โดยเปรียบเทียบว่า หากน้ำหนัก (Weight Ton) สูงกว่าก็จะคิดค่าระวางจากน้ำหนัก |
|
|
V (Ad Valorem Goods) คือ Degree ที่สินค้ามีราคาสูง ถึงแม้ว่าจะมาปริมาตรน้อย น้ำหนักไม่มาก แต่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ การคิดค่าระวางก็จะคิดเพิ่มอีก 3-5 เท่าของมูลค่าสินค้า |
|
|
ค่าระวางพิเศษ Surcharge ได้แก่ ค่าใช้จ่ายพิเศษที่มีการเรียกเก็บเพิ่มเติมจากค่าระวางเรือพื้นฐาน จะเรียกเก็บในกรณี เช่น ภัยสงคราม (War Risk Surcharge) ช่วงที่มีการส่งออกจำนวนมาก ทำให้พื้นที่บนเรือหนาแน่น (Peak Season Surcharge) ค่าใช้จ่ายเนื่องจากความแออัดของท่าเรือ (Congestion Surcharge) |
|
|
|
|
Terminal Handling Charge ( THC) : เป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการขนถ่ายสินค้าทั้งต้นทางและปลายทาง ได้แก่ การใช้เครนที่เรียกว่า Top คือ ค่าภาระ ค่าลากตู้สินค้า |
|
|
|
|
Bunker Adjustment Factor (BAF) : เป็นค่าระวางพิเศษ ชดเชยภาระค่าน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีการปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากเกิดวิกฤติการณ์ด้านน้ำมัน ซึ่งทำให้บริษัทเรือมีต้นทุนที่สูงขึ้นกว่าต้นทุนปกติ ก็จะมีการเรียกเก็บค่า BAF หรือที่เรียกว่า Bunker Charge |
|
|
|
|
Currency Adjustment Factor (CAF) : เป็นค่าปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา โดยค่าระวางเรือ ส่วนมากเก็บเป็นเงิน USD |
|
|
|
|
Congestion Surcharge : เป็นค่าใช้จ่ายพิเศษ เนื่องจากความแออัดในท่าเรือ เป็นค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการไม่ดี |
|
|
|
|
Bill of Lading Charge (B/L Charge) : ค่าออกใบตราส่ง เป็นค่าธรรมเนียมในการที่บริษัทเรือต้องจัดพิมพ์ใบ Bill of Lading ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการแสดงสถานภาพ (Status) ว่าสินค้าได้มีการขนส่ง
|
|
|
|
|
AMSC (Advance Manifest Security Charge) : เป็นค่าใช้จ่ายในการที่บริษัทเรือต้องป้อนข้อมูลภายใน 24 ชั่วโมงก่อนการขนถ่ายสินค้า การส่งมอบสินค้าขาเข้าที่มากับเรือคอนเทนเนอร์ของตัวแทนสายเดินเรือ |
|
|
|
|
การส่งสินค้าออก ผู้ส่งออกอาจจะมีภาระในค่าระวางสินค้าหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับข้อตกลงในเรื่องเงื่อนไขการส่งมอบที่ทําไว้กับผู้ซื้อ แต่ผู้ส่งออกจะต้องมีภาระในค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับตู้สินค้าที่ตัวแทนสายเดินเรือเรียกเก็บที่เมืองท่าต้นทางดังนี้คือ |
|
|
|
ค่าเข้าตู้ CFS Charge (Container Freight Station Charge)
|
|
|
ค่ายกตู้ THC Charge (Terminal Handling Charge) สําหรับตู้ส่งที่ออกในเงื่อนไข CFS จะต้องจ่ายทั้งค่าเข้าตู้และค่ายกตู้ ส่วนผู้ที่ส่งออกในเงื่อนไข CY จะมีภาระเฉพาะค่า THC เท่านั้น ค่าเข้าตู้และค่ายกตู้มีอัตราที่ไม่เท่ากันในการส่งสินค้าไปยังแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับว่าตัวแทนสายเดินเรือจะเรียกเก็บ |
|
|
|